- English
- ภาษาไทย
Bio_sgrj
สมเด็จพระสังฆราช
พระองที่ ๑๙
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(เจริญ สุวฑฺฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
ภูมิลำเนาเดิม | ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี |
วันประสูติ | วันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๗๕ ตรงกับวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ในรัชกาลที่ ๖ |
วันสถาปนา | วันศุกร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๓๕๑ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ในรัชกาลที่ ๙ |
พระชันษา | ๑๐๐ ปี ณ ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๖) |
ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช | ณ ปัจจุบัน ๒๔ ปี |
เมื่อครั้งเป็นสามเณร
![]() |
![]() |
ท่านน้อย คชวัตร พระชนก | ท่านกิมน้อย คชวัตร พระชนนี |
พระประวัติเบื้องต้น
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๗๕ ตรงกับ วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ณ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พระชนกชื่อน้อย คชวัตร พระชนนีชื่อกิมน้อย คชวัตร ทรงเป็นบุตรคนที่ ๑ ในจำนวนพี่น้อง ๓ คน เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงมีร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยอยู่เสมอ คราวหนึ่งทรงป่วยหนักจนผู้ใหญ่ถึงกับคิดว่าจะไม่หายและบนว่า ถ้าหายจะให้บวชแก้บน ข้อนี้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรในเวลาต่อมา พระองค์ทรงมีนิสัยแสดงออกทางพระ ชอบเล่นเป็นพระทำคัมภีร์เทศน์เล็กๆ พัดยศเล็กๆ เล่นทอดกฐิน ผ้าป่า เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรีจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ หรือเทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ ๒
ทรงบรรพชา
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ จะมีน้าออกบวชเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆาราม ๒ คน พระชนนีและป้าจึงชักชวนให้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนเสีย จึงตกลงพระทัยที่จะบรรพชา ในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีพระเทพมงคลรังสี (ดี พุทฺธโชติ) เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระครูอดุลยสมณกิจ เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่า หลวงพ่อวัดเหนือ เป็นพระอุปัชฌาย์และพระโสภณสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ)เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระครูนิวิฐสมาจาร เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งคนทั่วไปเรียกกันว่าหลวงพ่อวัดหนองบัว เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล
![]() |
![]() |
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระอุปชฌาย์ เมื่อครั้งทรงอุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร |
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อครั้งเป็นพระเปรียญ |
มื่อทรงบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม ครั้นวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงพ่อวัดเหนือได้พามาฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสนหา จังหวัดนครปฐมและได้เริ่มเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดเสนหาในพรรษานั้น อาจารย์ผู้สอนเป็นพระเปรียญมาจากวัดมกุฏกษัตริยาราม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงพ่อจึงได้พามาถวายตัวต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ในขณะนั้นยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์) เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เพื่ออยู่ศึกษาต่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงได้รับพระเมตตารับไว้และทรงมอบให้อยู่ในความดูแลของพระครูพุทธมนต์ปรีชา (เฉลิม โรจนศิริ ป.ธ.๓ ต่อมาลาสิกขา)ทรงได้รับประทานฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า สุวฑฺฒโน
ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม ๔ ประโยค เมื่อยังทรงเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินหลวงที่วัดบวรนิเวศวิหาร ขณะนั้นมีการพระราชทานผ้าไตรแก่พระภิกษุสามเณรเปรียญ ทั้งวัด พระองค์เป็นสามเณรเปรียญรูปเดียวในศกนั้น ที่ได้เข้ารับพระราชทานผ้าไตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
![]() |
![]() |
![]() |
พระเทพมงคลรังสี (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปชฌาย์ เมื่อครั้งทรงอุปสมบท |
พระเทพมงคลรังสี (ดี พุทฺธโชติ) พระกรรมวาจารย์ เมื่อครั้งทรงอุปสมบท |
พระรัตนธัชมุนี (จู อิสฺสรญาโณ) พระกรรมวาจาจารย์ เมื่อครั้งทรงอุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร |
ทรงอุปสบท
พ.ศ. ๒๔๗๖ พระชนมายุครบอุปสมบทได้ ทรงกลับไปทรงอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันจันทร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีระกา ตรงกับ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมี พระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทฺธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดหรุงเจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ทรงอุปสมบทแล้วจำพรรษาอยูที่วัดเทวสังฆารามอยู่ ๑ พรรษา แล้วกลับมาทรงทำทัฬหีกรรม (อุปสมบทซ้ำ) เป็นธรรมยุต ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ (ขณะนั้นยังนับเดือนเมษายนเป็นต้นปี) โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และพระรัตนธัชมุนี (จู อิสฺสรญาโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อทรงอุปสมบทอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ก็ยังคงเวียนไปสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่อีก ๒ ปี และทรงสอบเปรียญธรรมเรื่อยมาจนสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ในระหว่างนั้นพระองค์ยังได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาสันสกฤต กับสวามีสัตยานันทปุรี นักพรตชาวอินเดียด้วย
ลายพระหัตถ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระโศภนคณาภรณ์ (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) พระพี่เลี้ยง
เสด็จฯ ออกจากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปยังพระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง
เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีตามขัตติยราชประเพณี
สมณศักดิ์และตำแหน่งหน้าที่ในการคณะสงฆ์และการพระศาสนา
เมื่อทรงสอบได้เปรียญชั้นสูงแล้ว ก็ทรงรับภาระหน้าที่ต่าง ๆ ทั้งทางวัดและทางคณะสงฆ์ นับแต่ทรงเป็นครูสอนนักธรรมและบาลี และเมื่อมีวิทยฐานะเข้าเกณฑ์ เป็นกรรมการตรวจนักธรรมและบาลีก็ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจนักธรรมและบาลีสนามหลวง ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรีเรื่อยมาจนถึงชั้นประโยค ๙ ต่อจากนั้นได้ทรงรับภาระทางการคณะสงฆ์และการพระศาสนา เพิ่มขึ้นเป็นลำดับคือ
พัตยศประจำพระองค์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก
- พ.ศ. ๒๔๘๔ ทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
- พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงเป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
- พ.ศ. ๒๔๘๙ ทรงเป็นเลขานุการ ในองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่ สมเด็จวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช
- พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระโศภนคณาภรณ์ ทรงเป็นกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงเป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว
- พ.ศ. ๒๔๙๔ ทรงเป็นกรรมการอำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ และเป็นกรรมการแผนกตำราของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ
- พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม และได้เป็นผู้ร่วมในคณะทูตพิเศษที่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ส่งไปร่วมฉลองพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระอัครสาวก ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
- พ.ศ. ๒๔๙๖ ทรงเป็นกรรมการตรวจชำระคัมภีร์ฎีกา
- พ.ศ. ๒๔๙๗ ทรงเป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ประเภทถาวร
- พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมวราภรณ์
- พ.ศ. ๒๕๐๑ ทรงเป็นกรรมการคณะธรรมยุต และเป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนาและมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.)
- พ.ศ. ๒๕๐๓ ทรงเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองสั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุต
- พ.ศ. ๒๕๐๔ ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค เป็พระอุปัชฌาย์ และได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ
- พ.ศ. ๒๕๐๖ ทรงเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมชุดแรก ตามพระราชบัญัญติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๐๕
- พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร นับเป็นสมเด็จพระญาณสังวร พระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์แรกคือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็
- พระสังฆราช (สุก) วัดราชสิทธาราม
- พ.ศ. ๒๕๑๗ ทรงเป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต
- พ.ศ. ๒๕๒๘ ทรงเป็นรองประธานกรรมการสังคีติการกสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก และเป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎกเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิม
- พระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
- พ.ศ. ๒๕๓๑ รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต และทรงเป็นนายกกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ และนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
ใบประกาศแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระสังฆราชพระองที่ ๑๙ แห่งกรุงรตันโกสินทร์
พ.ศ. ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) เป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกเมื่อวันศุกร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๓๕๑ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
และเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี นำดอกไม้ธูปเทียนแพ ไปถวายสักการะสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร)
ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมทั้งถวายฎีกาอาราธนาไปเข้ารับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2532
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถวายน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถวายพัดยศแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เสด็จประเทศจีน
พระเกียรติคุณ
การพระศาสนาในต่างประเทศ
เกี่ยวกับการพระศาสนาในต่างประเทศ พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจต่าง ๆ มาตั้งแต่ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เช่น จัดให้มีการเทศน์ เป็นภาษาอังกฤษ การสอนกรรมฐานแก่ชาวต่างประเทศ และจัดให้มีการสนทนาธรรมแก่ชาวต่างประเทศเป็นประจำทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ โดยพระองค์ทรงเป็นผู้ดำเนินการด้วยพระองค์เองร่วมกับพระภิกษุไทย และพระภิกษุชาวต่างประเทศที่บวชอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ ยังได้เสด็จไปปฏิบัติพระศาสนกิจในต่างประเทศอีกหลายคราว คือ
- พ.ศ. ๒๕๐๙ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตในต่างประเทศ ได้เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ ในพิธีเปิดวัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และดูกิจการพระธรรมทูตในประเทศอังกฤษและอิตาลี
- พ.ศ. ๒๕๑๑ เสด็จไปดูการพระศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษา ในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ อันเป็นผลให้ต่อมาได้มีการวางแผนร่วมกับชาวพุทธในประเทศอินโดนีเซีย ในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศนั้น และได้ส่งพระธรรมทูตไทยชุดแรกไปยังประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒
- พ.ศ. ๒๕๑๔ เสด็จไปดูการพระศาสนาและการศึกษาในประเทศเนปาล ประเทศอินเดีย และประเทศปากีสถาน ทำให้เกิดงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศเนปาลขึ้น ในขั้นแรกได้ให้ทุนจำนวน ๒ ทุน สำหรับภิกษุสามเณรชาวเนปาลเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
- พ.ศ. ๒๕๒๐ เสด็จไปบรรพชากุลบุตรชาวอินโดนีเซีย จำนวน ๔๓ คน ที่เมืองสมารัง ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์สังฆเถรวาทอินโดนีเซีย
![]() |
![]() |
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จการประชุม ณ เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จประเทศเนปาล |
- พ.ศ. ๒๕๒๘ เสด็จไปทรงเป็นประธานสงฆ์ ทรงประกอบพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถวัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และในศกเดียวกันนั้นได้เสด็จไปเป็นประธานบรรพชากุลบุตรศากยะแห่งเนปาล จำนวน ๗๓ คน ณ ประเทศเนปาล
- พ.ศ. ๒๕๓๖ เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นทางการเพื่อเจริญศาสนสัมพันธ์ระหว่างไทย – จีน เป็นครั้งแรก ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน
- พ.ศ. ๒๕๓๘ เสด็จไปทรงเป็นประธานวางศิลาฤกษ์วัดไทย ณ ลุมพินี ประเทศเนปาลซึ่งรัฐบาลไทยจัดสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙
การก่อสร้างและบูรณปฎิสังขรณ์พระอาราม
นับแต่ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นต้นมา ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดถึงการก่อสร้างถาวรวัตถุ อันเป็นสาธารณประโยชน์ในที่อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ถาวรวัตถุที่สร้างขึ้นใหม่ในวัดบวรนิเวศวิหาร ได้แก่
- ตึกกวีบรรณาลัย ห้องสมุดของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
- ตึกวชิรญาณวงศ์ อาคารเรียนของโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- ซุ้มปรางค์ที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บนลานประทักษิณชั้น ๒ ของพระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร
- ตึก ภ.ป.ร. พิพิธภัณฑ์วัดบวรนิเวศวิหาร
- มณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง
- ศาลาวชิรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร ๑๕๐ ปี
![]() |
![]() |
พระเจดีย์ วัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี เป็นพระเจดีย์ ที่จำลองแบบจากเจดีย์พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า |
พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ |
เสนาสนะและถาวรวัตถุอื่น ๆ ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมดทั้งพระอาราม ส่วนการก่อสร้างถาวรวัตถุอื่น ๆ ภายนอกวัด ตลอดถึงการอุปถัมภ์การก่อสร้างวัดต่าง ๆ ได้แก่
- สร้างตึกวชิรญาณวงศ์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สำหรับเป็นตึกสงฆ์
- สร้างตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาร ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สำหรับเป็นตึกสงฆ์
- สร้างวัดสันติคีรี ณ ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
- ทรงอุปถัมภ์การสร้างโรงเรียนมัธยมญาณสังวร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
- สร้างวัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
- ทรงอุปถัมภ์การสร้างพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดนาควัชรโสภณ จังหวัดกำแพงเพชร
- สร้างวัดพุมุด อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
- สร้างวัดวังพุไทร อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
- สร้างวัดรัชดาภิเษก อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
- สร้างวัดล้านนาญาณสังวราราม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
![]() |
![]() |
อาคารสกลมหาสังฆปริณายก โรงพยาบาลไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี | โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี |
ทรงอุปถัมภ์การก่อสร้างวัดในต่างประเทศอีกหลายแห่ง คือ
- วัดพุทธรังษี ในอุปการะของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
- วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
- อุโบสถวัดนครมณฑปศรีกีรติวิหาร ณ เมืองกีรติปูร์ ประเทศเนปาล
- วัดแคโรไลนาพุทธจักรวนาราม ณ รัฐแคโรไลนาเหนือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ ทรงมีพระดำริให้จัดสร้างโรงพยาบาลและสถานศึกษาถวายเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ พระองค์ละ ๑ แห่งรวม ๑๘ แห่งเรียกว่า “โรงพยาบาลสกลมหาสังฆปริณายก” แต่ละแห่งได้อัญเชิญพระรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์ไปประดิษฐานไว้แห่งละพระองค์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ และเป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนสืบไป อีกทั้งทรงสร้างในส่วนของพระองค์เองขึ้นไว้ที่จังหวัดกาญจนบุรีอีก ๑ แห่ง รวมเป็น ๑๙ แห่ง
งานพระนิพนธ์
- งานด้านพระนิพนธ์นั้น ได้ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้มาก ทั้งตำราพระธรรมเทศนา ธรรมบรรยาย พุทธประวัติ สารคดีธรรม และธรรมนิพนธ์ต่าง ๆ ประมวลได้ดังนี้
ประเภทตำรา
- พ.ศ. ๒๔๙๒ ทรงเรียบเรียงวากยสัมพันธ์ ภาค ๑-๒ เป็นหนังสืออธิบายบาลีไวยากรณ์ สำหรับใช้เป็นหนังสือประกอบการศึกษาของนักเรียนบาลี
- พ.ศ. ๒๕๑๒ ทรงเป็นผู้อำนวยการในการจัดทำปทานุกรม บาลีไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
- พิมพ์ขึ้นในงานทำบุญอายุ ๖๐ ปี หม่อหลวงบัว กิติยากร พระชนนีของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๒
ประเภททั่วไป
- ได้ทรงเรียบเรียงไว้เป็นจำนวนมาก เช่น การนับถือพระพุทธศาสนา หลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านเลิศล้ำ ๔๕ พรรษาพระพุทธเจ้า บัณฑิตกับโลกธรรม พุทธศาสนากับสังคมไทย และตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร (ภาค ๒) เป็นต้น
ประเภทพระธรรมเทศนา
- ได้ทรงเรียบเรียงไว้ และพิมพ์เผยแพร่ในโอกาสต่าง ๆ เช่น พระมงคลวิเสสกถา ปัญจคุณ ๕ กัณฑ์ ทศพลญาณเทศนา ๑๐ กัณฑ์ มงคลเทศนาถึงมงคลคาถาที่ ๖ และโอวาทปาฏิโมกข์เทศนา ๓ กัณฑ์ เป็นต้น
ประเภทริเริ่มให้มีการรวบรวมและแปล
ได้ทรงให้รวบรวมพระราชนิพนธ์ และพระนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสและสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ จัดพิมพ์เผยแพร่ และทรงจัดให้พระภิกษุไทยร่วมกับพระภิกษุชาวต่างประเทศ ช่วยกันแปลหนังสืออันเป็นคู่มือ ในการศึกษาพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นภาษาอังกฤษหลายเล่ม เช่น นวโกวาท วินัยมุข เล่ม ๑-๒-๓พุทธประวัติ เล่ม ๑-๒-๓ เป็นต้น และนอกจากนี้ ยังได้ทรงริเริ่มให้มีการแปลหนังสือพุทธศาสนาที่สำคัญ ๆ เป็นภาษาต่างประเทศ เพื่อเป็นการเผยแผ่ และเป็นคู่มือการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับชาวต่างประเทศด้วย เช่น หนังสือภิกขุปาติโมกข์ อุปสมบทวิธี ทำวัตรสวดมนต์ เป็นต้น
ผลงานพระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ประเภทเรียงความ
ภาษาไทย | |
๑. | กรรม |
๒. | กรรม อักโกสกสูตร ขันติ |
๓. | การถือพระพุทธศาสนา |
๔. | การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่ |
๕. | การบริหารทางจิต |
๖. | การบวช |
๗. | การปกครองคณะสงฆ์ |
๘. | กิเลส |
๙. | เกิดมาทำไม |
๑๐. | ขันติ – เมตตา |
๑๑. | คติชีวิต |
๑๒. | ความเข้าใจเรื่องชีวิต |
๑๓. | ความเข้าใจเรื่องพระพุทธศาสนา |
๑๔. | ความดีของชีวิต |
๑๕. | ความรู้กับความฉลาด |
๑๖. | ความรู้ประมาณอาหารการบริโภค |
๑๗. | ความสุขหาได้ไม่ยาก |
๑๘. | ความสุขอันไพบูลย์ |
๑๙. | คำกลอนนิราศสังขาร |
๒๐. | คำสัจจ์ |
๒๑. | คุณสีล |
๒๒. | จิตตนคร นครหลวงแห่งโลก |
๒๓. | ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา |
๒๔. | ชีวิตกับความจริง |
๒๕. | ชุมนุมสุภาษิต |
๒๖. | ตำนานวัดบวรนิเวศ |
๒๗. | ทศพิธราชธรรมและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว |
๒๘. | ทศพิธราชธรรมและหลักพระพุทธศาสนา |
๒๙. | ศาสนากับการพัฒนาจิตใจ |
๓๐. | เทคโนโลยีแห่งปัญญา |
๓๑. | ธรรมคือดวงตาของชีวิต |
๓๒. | ธรรมบริหารจิต |
๓๓. | ธรรมปฏิบัติ |
๓๕. | ธรรมประดับใจ (อันดับ ๓) |
๓๖. | ธัมมะประทับใจ |
๓๗. | นิทานสุภาษิต : คุณแห่งมิตรภาพ |
๓๘. | นิทานสุภาษิต : ศีลยังภรรยาให้สำเร็จ |
๓๙. | แนวความเชื่อ : ตอนที่ ๑ ว่าด้วยความเชื่อ ๓ ประเภท |
๔๐. | บทความของสมเด็จพระญาณสังวร |
๔๑. | บทความเรียงพิเศษ : ทางศรัทธา |
๔๒. | บ่วงจิต |
๔๓. | บวชดี |
๔๔. | บัณทิตกับโลกธรรม |
๔๕. | ปกติธรรม ปกติสุข |
๔๖. | ผู้ทำความดีย่อมได้ที่พึ่ง |
๔๗. | พ้นมือมาร |
๔๘. | พรหมวิหารธรรม |
๔๙. | พรหมวิหาร ๔ |
๕๐. | พระธรรมจักร เราช่วยกันสร้างเมืองด้วยธรรมประทีป |
๕๑. | พระพุทธเจ้าของเรานั้น ท่านเลิศล้ำ ปี ๒๕๐๙, ๒๕๑๐, ๒๕๑๑, ๒๕๑๒, ๒๕๑๓, ๒๕๑๔ |
๕๒. | พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร |
๕๓. | พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร ศีล สันโดษ |
๕๔. | พระพุทธเจ้า ศาสนากับสังคมไทย |
๕๕. | พระพุทธเจ้ากับสังคมไทยและพระพุทธศาสนาในประเทศไทย |
๕๖. | พระพุทธศาสนาและการนับถือพระพุทธศาสนา |
๕๗. | พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์แปล |
๕๘. | พุทธศาสนธรรมและเห็นประโยชน์อย่างไรจึงนับถือศาสนา |
๕๙. | พุทธศาสนวงศ์ |
๖๐. | พุทธศาสนสุภาษิต |
๖๑. | พุทธศาสนสุภาษิต (ไทย – อังกฤษ) |
๖๒. | มงคลวจนะ |
๖๓. | มงคล ๕ ข้อ |
๖๔. | มนุษยธรรมหลักแห่งปกติภาพของชีวิตและสังคม |
๖๕. | มองเมืองไทยทางพุทธบัญชร (ไทย – อังกฤษ) |
๖๖. | มูลเหตุธรรมเนียมการถวายผ้ากฐินและผ้าป่า |
๖๗. | ราชธรรมกับการพัฒนาสังคม |
๖๘. | เรื่องบัวสี่เหล่า |
๖๙. | ลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ไทยโดยสังเขป |
๗๐. | โลกและชีวิตในพุทธธรรม |
๗๑. | วิธีการของพระพุทธเจ้า |
๗๒. | วิธีปฏิบัติตนให้ถูกต้องทางธรรม |
๗๓. | วิธีปฏิบัติตนให้ถูกต้องทางธรรมและศีล |
๗๔. | ศาสนากับชีวิต |
๗๕. | ศีล (ไทย – อังกฤษ) |
๗๖. | ศึกษา |
๗๗. | สวดมนต์บรรยาย |
๗๘. | สวัสดีปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๓๔ |
๗๙. | สังคหวัตถุ |
๘๐. | สันโดษ |
๘๑. | สันโดษ กรรม อักโกสกสูตร |
๘๒. | สารัตถสมุจจัย อรรถกถาภาณวาร ตอนว่าด้วยพระธรรมจักกัปปวัตนสูตร |
๘๓. | สิริมงคลของชีวิต |
๘๔. | ศีลและทิฏฐิที่ดี |
๘๕. | ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๑ |
๘๖. | ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒ ตอน ๑ , ๒ พรรษาที่ ๖ – ๙ |
๘๗. | สุขุบายธรรม |
๘๘. | เส้นทางสร้างสุข |
๘๙. | แสงส่องใจ (ไทย – อังกฤษ) |
๙๐. | แสงส่องใจ อันดับ ๑ -๔ |
๙๑. | แสงส่องใจให้เพียรพรหม |
๙๒. | โสฬสธรรม |
๙๓. | หนังสือธรรมในพระพุทธศาสนา |
๙๔. | หลัการทำสมาธิเบื้องต้น (ไทย – อังกฤษ) |
๙๕. | หลัการทำสมาธิเบื้องต้น ปัญญา นิวรณ์และกัมมัฏฐาน สำหรับแก้การ |
๙๖. | หลงลืมตัว ของฝาก – ขวัญปีใหม่ ศาสนาและทศพิธราชธรรม |
๙๗. | หลักธรรมสำหรับการปฏิบัติอบรมทางจิต (๒ เล่ม) |
๙๘. | หลักพระพุทธศาสนา |
๙๙. | หลักพระพุทธศาสนา ทศพิธราชธรรม และหลักพระพุทธศาสนา |
๑๐๐. | ห้องสมุด |
๑๐๑. | เหตุแห่งความสุข |
๑๐๒. | อธิบายวากยสัมพันธ์ภาค ๑ , ๒ |
๑๐๓. | อวิชชา |
๑๐๔. | อัฏฐารสธรรม |
๑๐๕. | อัปปมาทธรรม |
ภาษาอังกฤษ | |
๑. | Betrachung des korpress |
๒. | Contemplation of the Body Kayanupassana |
๓. | The Contemplation of Feelings Vedananupassana |
๔. | A Guide to Awareness |
๕. | His Majesty The King of Thailand Ten Thousand Days on the Throne |
๖. | The Maxims of the Sanggharaja of the Thai Sangha and the Government of the Thai Sangha |
๘. | Rudiments of Mental-Collectedness |
๙. | Selected Articles on Buddhism |
๑๐. | Ten Thousand Days on the Throne |
๑๑. | Wat Bovornnives Vihara |
๑๒. | What Did the Buddha Teach? |
ประเภทคำบรรยายและโอวาท | |
ภาษาไทย | |
๑. | การนับถือพระพุทธศาสนา |
๒. | การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่ |
๓. | การปฏิบัติทางจิต |
๔. | การอบรมวิปัสสนากรรมฐาน |
๕. | คำบรรยายพิเศษเรื่อง บทบาทของพระวิทยากรแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง และพุทธธรรมกับการพัฒนาชนบท |
๖. | คำบรรยายพิเศษเรื่อง ศาสนากับการพัฒนาจิตใจ และเรื่องธรรมะในการพัฒนา ตนและครอบครัว |
๗. | คำบรรยายวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย เรื่องพระพุทธศาสนากับสังคมไทย |
๘. | จิตตนคร นครหลวงแห่งโลก และแนวปฏิบัติในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ |
๙. | จิตตภาวนา |
๑๐. | ทศบารมี ทศพิธราชธรรม |
๑๑. | ธรรมกถาในการปฏิบัติอบรมจิต (๒ เล่ม) |
๑๒. | ธรรมกถาในการปฏิบัติอบรมทางจิต |
๑๓. | ธรรมกถาในการอบรมกรรมฐาน |
๑๔. | ธรรมกถาในพิธีบำเพ็ญจิตตภาวนาพุทโธ |
๑๕. | ธรรมบรรยายพิเศษ จตุสติปัฏฐาน |
๑๖. | ธรรมบรรยายอบรมจิต |
๑๗. | ธรรมปฏิบัติเบื้องต้น : หลักการทำสมาธิเบื้องต้น อย่างไรที่เรียกว่าปฏิบัติธรรม |
๑๘. | ธรรมประดับใจ |
๑๙. | ธรรมปาฐกถา |
๒๐. | ธรรมปาฐกถา เรื่องหน้าที่ |
๒๑. | ธรรโมวาท |
๒๒. | นวกานุสาสน์ จิตตภาวนาธรรมบรรยาย |
๒๓. | เนกขัมมะ |
๒๔. | แนวปฏิบัติทางจิตและธรรมปฏิบัติ |
๒๕. | แนวปฏิบัติในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ |
๒๖. | แนวปฏิบัติในสติปัฏฐาน |
๒๗. | บันทึกกัมมัฏฐาน |
๒๘. | ปาฐกถาธรรมเรื่องความตาย |
๒๙. | ปาฐกถาพิเศษ เรื่องทศพิธราชธรรมและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว |
๓๐. | ปาฐกถาเรื่องการนับถือพระพุทธศาสนา |
๓๑. | พรหมธรรมและนาถกรณธรรม |
๓๒. | พระบรมราชโชวาทเรื่องคุณธรรม ๔ ประการ |
๓๓. | พระบรมราชโชวาทเรื่องคุณธรรม ๔ ประการ ศาสนาและทศพิธราชธรรม |
๓๔. | พระโอวาทวันลาสิกขา |
๓๕. | พระโอวาทสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระอุปัชฌาย์ ประทานแก่นวกภูมิภิกษุวัดบวรนิเวศวิหารพรรษากาล ๒๕๓๒ |
๓๖. | ลักษณะพระพุทธศาสนา |
๓๗. | สัมมาทิฏฐิ |
๓๘. | สัมโมทนียกถา |
๓๙. | สี่รอบพระนักษัตร |
๔๐. | อนุโมทนากถา |
๔๑. | อนุสสติและสติปัฏฐาน |
๔๒. | อานาปานสติ |
๔๓. | อารัมภพจนแห่งรายการพระพุทธศาสนา |
๔๔. | โอวาทานุศาสน์ |
๔๕. | โอวาทพระธรรมเทศนา |
๔๖. | โอวาทและเทศนาต่างรส |
ภาษาอังกฤษ | |
๑. | Practical Buddhadhamma |
ประเภทเทศนา | |
๑. | จตุธรรมสำคัญ |
๒. | ญาณสังวรเทศนา |
๓. | เถรธรรมกถา |
๔. | ทศพิธราชธรรม |
๕. | ทศพลญาณ |
๖. | ทุลลภกถา |
๗. | บารมี : บารมีและคู่มือปฏิบัติงานศาสนพิธี |
๘. | ประชุมพระธรรมเทศนาหน้าพระศพพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดี รังสิต |
๙. | ปัญจคุณ |
๑๐. | ปัญจพลกถา |
๑๑. | ปิยมหาราชานุสรณกถา |
๑๒. | พระธรรมเทวาธิราช |
๑๓. | พระธรรมเทศนา |
๑๔. | พระธรรมเทศนา พระธรรมเทศนาและบันทึกคติธรรม |
๑๕. | พระธรรมเทศนาทุลลภกถา ในการบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปาทาน |
๑๖. | พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พระธรรมเทศนาในการสมโภช พระนคร ครบ ๑๐๐ ปี ๑๕๐ ปี และ ๒๐๐ ปี |
๑๗. | พระธรรมเทศนาในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. ๒๔๕๐ – ๒๔๕๑ และ พ.ศ. ๒๕๓๑ |
๑๘. | พระธรรมเทศนา พรหมวิหารกถา |
๑๙. | พระธรรมเทศนา พุทธปทีปกถา |
๒๐. | พระธรรมเทศนา โลกธรรมคาถา |
๒๑. | พระธรรมเทศนา ศราทธพรตเทศนา |
๒๒. | พระธรรมเทศนา สัจจธรรมกถา |
๒๓. | พระมงคลวิเสสกถา |
๒๔. | พระมงคลวิเสสกถา : รับพระราชทานถวายในพระราชพิธี |
๒๕. | เฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. ๒๕๑๗ |
๒๖. | พระมงคลวิเสสกถาและพระธรรมเทศนาพิเศษ |
๒๗. | พุทธุปปาทาทิสุขกถา |
๒๘. | มงคลเทศนา |
๒๙. | รวมบทพระธรรมเทศนา |
๓๐. | ลกุฏิกชาดกสาธกธรรมเทศนา |
๓๑. | ลักษณะตัดสินพระธรรมวินัย |
๓๒. | โลก – เหนือโลก |
๓๓. | สมเด็จพระญาณสังวร พระมงคลวิเสสกถา |
๓๔. | สังฆคุณและโอวาทปาติโมกขเทศนา |
๓๕. | อนุสติฐานกถา |
๓๖. | อาหุเนยโย |
พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ถวายปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา
ปริญญาดุษฎิบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- พ.ศ. ๒๕๒๙ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎิบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาปรัชญา
- พ.ศ. ๒๕๓๒ มหาวิทยาลัยมหิดล ถวายปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศาสนาเปรียบเทียบ
- พ.ศ. ๒๕๓๓ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ถวายปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- พ.ศ. ๒๕๓๗ มหาวิทยาลังเกษตรศาสตร์ ถวายปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา
- พ.ศ. ๒๕๓๘ มหาวิทยาลัยนเรศวร ถวายปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา
- พ.ศ. ๒๕๓๙ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถวายปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- พ.ศ. ๒๕๔๑ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาไทย
- พ.ศ. ๒๕๔๓ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถวายปริญญาศิลปะศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา
- พ.ศ. ๒๕๔๕ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถวายปริญญาศิลปะศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาไทศึกษา
- พ.ศ. ๒๕๔๗ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ถวายปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา
- พ.ศ. ๒๕๔๘ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำวัตรเช้าในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศ
พระกรณียกิจพิเศษ
- พ.ศ. ๒๔๙๙ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเลือกให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง)ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในระหว่างที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ถึง วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙
- พ.ศ. ๒๕๒๑ ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร ในการทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงเป็นพระอาจารย์ ถวายการอบรมพระธรรมวินัย ขณะที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุและเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารระหว่างวันที่ ๖ - ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน
๑. | ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม |
๒. | เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต |
๓. | เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร |
๔. | รักษาการเจ้าอาวาสวัดญาณสังวร ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
๕. | นายกสภามหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย |
๖. | ผู้อำนวยการโรงเรียนพระสังฆาธิการคณะธรรมยุต |
๗. | ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างพุทธมณฑลฝ่ายสงฆ์ |
๘. | ประธานคณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา |
๙. | นายกกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
๑๐. | ประธานกรรมการมูลนิธิพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย |
๑๑. | ประธานกรรมการมูลนิธิวัดญาณสังวราราม ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
ข้อมูลเอามาจาก: http://www.มูลนิธิสมเด็จพระสังฆราชวัดบวร.com/sangkaracha-profile.php